การตรวจประเมิน

1. การตรวจประเมิน และ
เทคโนโลยีช่วยการได้ยิน

1.1 การตรวจคัดกรองเด็กแรกเกิด
1.2 การตรวจประเมินการได้ยินและการวินิจฉัย
การได้ยิน สร้างพลังให้กับโอกาสของลูกน้อย

รู้สถานะของการได้ยินของลูกคุณ

     ขั้นแรก เมื่อคุณทราบระดับการได้ยินของลูก คุณจะสามารถทำให้เสียงต่าง ๆ มีทางเข้าถึงสมอง เพื่อให้สมองเกิดการเรียนรู้ได้ต่อไป เมื่อแรกคลอด เด็กส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน หากลูกของคุณ ไม่ผ่านการตรวจคัดกรองในขั้นแรก คุณจะได้รับการนัดหมายให้ได้รับการตรวจคัดกรองอีกครั้ง หรือการเข้ารับการตรวจ ประเมินการได้ยินแบบสมบูรณ์

การค้นหาให้มากขึ้นเกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อย
การได้ยินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาการของสมองของลูกน้อย

คุณสามารถช่วยให้ลูกได้ยินในทุกช่วงเวลาที่คุณร้องเพลง อ่านออกเสียงดัง หรือแม้แต่บอก “รักลูก” เรียนรู้เกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อย ตลอดถึงขั้นตอนตลอดเส้นทางการพัฒนาภาษาพูดของเขา ตั้งแต่การคัดกรองการได้ยินเมื่อแรกเกิด การใส่เครื่องช่วยฟัง ถึงการเริ่มเข้าโรงเรียน

เมื่อคุณทราบว่าแล้วว่าลูกมีการสูญเสียการได้ยิน คุณจะต้องรีบให้เสียงสามารถเดินทางเข้าไปถึงสมองของลูกน้อยได้เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต

การได้ยินนั้นมีความสำคัญยิ่งต่อสมองของลูกน้อยในทุกขั้นตอนของการพัฒนาการ การตรวจคัดกรองการได้ยินนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คุณและลูกน้อยจะออกจากโรงพยาบาลภายหลังการคลอด การคัดกรองตรวจเพื่อให้คุณทราบให้เร็วที่สุดหากลูกน้อยยั้ยมีโอกาสที่จะบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมันมีความเป็นไปได้มากกว่าที่คุณคิด  การทราบแต่เนิ่น ๆ ว่าลูกมีการสูญเสียการได้ยินนั้นมีความสำคัญ

การตรวจคัดกรองทางได้ยินนั้นเป็นขั้นตอนที่ปลอดภัย รวดเร็ว ไม่มีความเจ็บปวดแต่อย่างใดเลย  การตรวจนั้นประกอบไปด้วยจะกระทำการในขณะที่ลูกน้อยกำลังหลับ ผลของการตรวจจะระบุว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน หากว่าผลการตรวจคัดกรองแจ้งว่า ผ่าน มันจะหมายถึงไม่มีภาวะอาการสูญเสียการได้ยิน ณ เวลานั้น หากผลการตรวจปรากฏว่า ไม่ผ่าน จะต้องมีการตรวจอีกครั้ง และเป็นการตรวจแบบเชิงลึก

เมื่อได้รับผลแล้ว

 คุณจะได้รับผลตรวจคัดกรองการได้ยินก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาล หากลูกน้อยนั้น ไม่ผ่าน ผลการตรวจ คัดกรอง คุณจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับติดตามผล ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง  หรือให้ตรวจเพิ่มเติมในเชิงลึกแบบครบถ้วน ขอเพียงให้คุณรีบนัดหมายในการเข้ารับการตรวจการได้ยินเชิงลึกแบบครบถ้วนทันที หากคุณไม่ได้รับการตรวจคัดกรองทางได้ยินภายหลังการคลอด ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาล คุณควรรีบหาที่ ๆ จะมอบบริการตรวจคัดกรองการได้ยินให้ลูกน้อยคุณภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือนภายหลังการคลอด

สมองน้อย ๆ นั้นเติบโตจากสิ่งที่เขาได้ยิน

ประสาทการรับรู้ด้านการรับเสียงคือสิ่งหนึ่งที่เป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยเข้าใจโลกรอบ ๆ ตัวเขา เมื่อคุณ หรือผู้ดูแลลูกน้อยกำลังทำปฏิสัมพันธ์กับเขา การเชื่อมต่อในจุดใหม่ ๆ ของสมองจะเริ่มเติบโตขึ้น ในขณะที่เขาได้ยินเสียงคุณพูด ร้องเพลง หรืออ่านหนังสือให้เขาฟัง การได้ยินคือการสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ และเสียงเหล่านั้นช่วยให้เขาได้เรียนรู้ที่จะฟัง และเกิดความเข้าใจในเสียงคำพูด

 การนัดหมายเข้ารับการทดสอบการได้ยินอีกครั้ง

  หากได้ผลการตรวจคัดกรองการได้ยินว่า  “ไม่ผ่าน” ควรรีบจัดการนัดหมายการเข้ารับการติดตามผลในการตรวจใหม่โดยเร็วที่สุด

ขั้นตอนต่อไปของคุณมีความสำคัญต่อการพัฒนาของลูกน้อย นัดหมายการตรวจคัดกรองอีกครั้ง กับผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจการได้ยินเด็กโดยเร็ว ควรกระทำภายในอายุ 1 เดือน อย่ารอ! อายุแรกเกิด ถึง สามปี คือช่วงอายุที่มีความสำคัญมากในการพัฒนาการฟัง และ ภาษาพูด คุณย่อมไม่ต้องการเสียเวลา เสียโอกาส คุณควรรีบให้ลูกน้อยได้ยินคุณเพื่อไม่ให้เขาได้พลาดนาทีที่คุณร้องเพลง อ่านนิทานให้เขา หรือแม้แต่ “บอกรัก” เขา

     เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเผชิญกับโอกาสที่ต้องได้รับการพัฒนาการแบบเร่งด่วน จากผลการศึกษาของสถาบันการศึกษาของเยาวชนในสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics)

     การได้ยินเปิดช่องทางของเสียงให้เดินทางผ่านหูไปยังสมอง เสียงเป็นการรับรู้ข้อมูลที่กลายเป็นข้อมูลความรู้ให้กับลูกน้อยของคุณ การได้ยินจึงเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ของลูกน้อยของคุณ ข้อมูลจากการฟังจะสร้างให้ระบบประสาทเชื่อมต่อกันภายในสมอง และจะทำให้ลูกน้อยสามารถเริ่มเรียนรู้ที่จะฟัง พูด และอ่านเหมือนเด็กทั่วไป

การตรวจประเมินการได้ยินแบบเต็มรูปแบบ

     เด็กเกือบทุกรายที่ได้รับการตรวจคัดกรองแรกเกิด ซึ่งผลจะระบุเพียง ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน หากได้รับผล ไม่ผ่าน เขาจะต้องได้รับการตรวจซ้ำ ในเชิงลึก เพื่อยืนยันผลตรวจ การวินิจฉัยจากผลการตรวจการได้ยินนั้นเรียกว่าการตรวจประเมินการได้ยินแบบเต็มรูปแบบ คุณควรจะนำลูกน้อยเข้ารับการตรวจประเมินโดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้ลูกน้อยพลาดเสียงต่าง ๆ และ เสียงคำพูดรอบ ๆ ตัวเขา

“ยิ่งทราบผลการได้ยินเร็ว
ยิ่งดีต่อการเร่งพัฒนาการสมองของลูกน้อย
เพื่อการฟัง การพูด และ การอ่าน”

Teresa Caraway, PhD, CCC-SLP, LSLS Cert, AVT, CEO Hearing First
     ผลตรวจประเมินการได้ยินของลูกน้อยของคุณประกอบได้ด้วยผลการทดสอบที่หลากหลาย เพื่อตรวจวัดว่าลูกน้อยสามารถได้ยินเพียงใดในหูแต่ละข้าง และเพื่อให้ทราบว่าการสูญเสียงการได้ยินนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด หรือ การใช้อุปกรณ์ เช่นเครื่องช่วยฟัง
เตรียมตัว

     หาเพื่อนไปด้วยในวันนัดหมายฟังผลตรวจประเมินการได้ยิน สมาชิกในบ้าน หรือเพื่อสนิท ผู้ที่คอยประคองจิตใจคุณ เมื่อทราบถึงผลตรวจประเมินการได้ยิน และ แนวทางการรักษา หากลูกน้อยได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการได้ยิน ผลนี้อาจทำให้คุณตกใจ ไม่คาดคิดมาก่อน และจะเป็นช่วงเวลาที่เศร้าหมอง จะเป็นการช่วยคุณได้มาก หากมีคนที่จะคอยปลอบใจ อยู่เคียงข้างคุณด้วย

การเตรียมตัวพาลูกน้อยไปตรวจประเมินการได้ยิน

ไปตามนัดหมายด้วยความมั่นใจ รู้ว่าจะคาดหวังอะไรจากการนัดหมายนี้ ทราบถึงลักษณะการทดสอบ และลักษณะของคำถามที่จะเกิดขึ้น

คุณทดสอบการได้ยินลูกน้อยได้อย่างไร?

     คุณจะไม่สามารถทดสอบการได้ยินของลูกคุณที่บ้านได้ คุณจะต้องนำลูกไปเข้ารับการตรวจการได้ยินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเด็ก ผู้ที่มีเครื่องมือในการตรวจโดยเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินจะอธิบายจุดประสงค์ของการตรวจการได้ยินในแต่ละครั้ง พร้อมแจ้งถึงผลตรวจว่ามันมีความหมายอย่างไรกับการได้ยินของลูกน้อยของคุณ การทดสอบการได้ยินเหล่านี้รวมถึงการตรวจการได้ยินชนิดผ่านก้านสมอง (ABR) และการตรวจคัดกรองการได้ยิน (OAE) การตรวจเหล่านี้ ปลอดภัย และจะไม่ทำให้ลูกคุณเจ็บ หรือไม่สบายตัวแต่อย่างใด

     ขึ้นอยู่กับอายุของลูกน้อยคุณ ลูกคุณอาจจะได้รับการตรวจแบบใช้การสังเกตพฤติกรรม ในการทดสอบชนิดนี้ คุณและลูกน้อยจะเข้าไปอยู่ในห้องเก็บเสียง ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจการได้ยิน จะปล่อยเสียงและสังเกตกิริยาหรือพฤติกรรมการตอบสนองต่อเสียงที่ปล่อยออกมา เมื่อคุณอยู่กับลูกของคุณด้วย คุณจะสามารถสังเกตเห็นการตอบสนองของลูกคุณเช่นกัน

     ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจการได้ยินเด็กจะพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับผลตรวจประเมินการได้ยินของลูกคุณ เขาจะสามารถบอกคุณได้ว่าผลตรวจนั้นหมายความว่าอะไร และไม่ได้อธิบายถึงอะไร เกี่ยวกับการได้ยินของลูกน้อยของคุณ      การตรวจวินิจฉัยด้านการได้ยินจะใช้เวลาตรวจมากกว่าหนึ่งครั้ง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเด็กจะนัดหมายครั้งต่อไปเพื่อเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม หากว่าการได้ยินของลูกคุณอยู่ในระดับปกติ เขาจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านการตรวจคัดกรองในอนาคต หากมีความจำเป็น       การลูกน้อยของคุณได้รับการวินิจฉัยว่าสูญเสียการได้ยิน จะมีข้อมูลมากมายที่เขาจะมอบให้คุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเด็กจะแจ้งคุณว่าชนิดของการสูญเสียการได้ยินของลูกคุณคือชนิดใด มีการสูญเสียในระดับใด รุนแรงเพียงใด และจะมีทางใส่อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกได้ยินได้อย่างไร
     ออดิโอแกรมคือภาพที่แสดงผลว่าเสียงคำพูดเสียงใดที่ลูกได้ยินในขณะที่ทำการทดสอบ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลการตรวจการได้ยินของลูกคุณ เพื่อที่คุณจะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน
     คุณจะเรียนรู้ถึงระดับการสูญเสียการได้ยิน มีตั้งแต่การสูญเสียการได้ยินระดับน้อย ระดับปานกลาง ระดับรุนแรง หรือระดับรุนแรงมาก ด้วยการพัฒนาการของอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน แม้แต่เด็กน้อยที่เกิดมามีการสูญเสียการได้ยินชนิดรุนแรงมาก หรือบ่อยครั้งเรียกว่าหูหนวกนั้น สามารถเรียนรู้ที่จะฟัง และใช้ภาษาพูดได้
     ชนิดของการสูญเสียการได้ยิน มีสองชนิด คือ Conductive Hearing Loss และ Sensorineural Hearing Loss
  • Conductive Hearing Loss นั้นสาเหตุเกิดจากปัญหาของหูชั้นนอก และ หูชั้นกลาง เช่นการที่หูมีอาการติดเชื้อ มีขี้หู หรือปัญหาของรูปร่างของใบหู ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการใช้ยา หรือ การผ่าตัด
  • Sensorineural Hearing Loss นั้นหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน ส่วนของหูที่รับ จัดเรียง และส่งต่อเสียงผ่านทางเส้นประสาทเพื่อการส่งต่อไปยังสมอง การสูญเสียการได้ยินชนิดนี้เป็นสิ่งที่สูญเสียชนิดถาวร หมายถึงว่า ไม่สามารถรักษาได้จากการผ่าตัด แต่การฟัง และการพูดยังเป็นไปได้ด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ได้แก่เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียม
     ลูกน้อยของคุณนั้นแจจะมีการสูญเสียการได้ยินในหูหนึ่งข้าง หรือ ในหูทั้งสองข้าง
     ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินนั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากเป็นไปได้ แพทย์โสต ศอ นาสิก อาจจะสามารถช่วยระบุสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินได้      โดยทั่วไป มีสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินสองแบบ การสูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สาเหตุอื่น ได้แก่ ปัจจัยทางปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น เช่น การขาดออกซิเจนขณะคลอด การติดเชื้อ การบาดเจ็บทางศีรษะ การใช้ยา บางครั้งสาเหตุมาจากทั้งพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกรวมกันทั้งสองอย่าง
     ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินนั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากเป็นไปได้ แพทย์โสต ศอ นาสิก อาจจะสามารถช่วยระบุสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินได้      โดยทั่วไป มีสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินสองแบบ การสูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สาเหตุอื่น ได้แก่ ปัจจัยทางปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น เช่น การขาดออกซิเจนขณะคลอด การติดเชื้อ การบาดเจ็บทางศีรษะ การใช้ยา บางครั้งสาเหตุมาจากทั้งพันธุกรรม และปัจจัยภายนอกรวมกันทั้งสองอย่าง
โดยทั่วไปแล้ว ลูกน้อยจะได้รับการส่งต่อไปที่แพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก สำหรับด้านปัญหาการได้ยิน แพทย์จะตรวจสอบว่าการสูญเสียการได้ยินนั้นจะสามารถได้รับแก้ไขทางด้านการแพทย์ได้อย่างไร ลูกน้อยของคุณ อาจจะถูกส่งต่อเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย หรือ ตรวจเชิงลึกไม่ว่าจะเป็นแผนกรังสี X-Rays หรือ MRI สแกน เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของการสูญเสียการได้ยิน

การเตรียมตัวพาลูกน้อยไปตรวจประเมินการได้ยิน

เมื่อได้รับการวินิจฉัยแน่ชัดแล้วว่าลูกน้อยสูญเสียการได้ยิน ผู้ปกครองควรทำอย่างไร?

นี่คือสิ่งที่คุณควรจัดการทันที เพื่อให้คุณและลูกน้อยอยู่ในกระบวนการมุ่งหน้าสู่การเรียนรู้การฟัง เพื่อพัฒนาภาษาพูด
  • ให้ลูกน้อยได้ใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เขาสามารถได้ยินข้อมูลต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะ เสียงของคุณ คุณจะได้ทราบเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน การบริการด้านการได้ยินที่ลูกน้อยต้องการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินจะ: 
  1. แนะนำทางเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่เหมาะสม เพื่อให้สมองของลูกน้อยได้ยินข้อมูลการสื่อสารที่ชัดเจน
  2. พูดคุยเรื่องค่าใช้จ่าย และงานบริการของอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน
  3. ออกแบบปรับโปรแกรมการได้ยินเฉพาะทางให้กับอุปกรณ์ของลูกน้อย
  4. สอนให้คุณทราบถึงขั้นตอนการดูแลอุปกรณ์
  5. พูดคุยในเรื่องของการนำลูกเข้ารบการกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟัง และการพูด โดยยึดข้อมูลเป้าหมายที่คุณมีอยู่เป็นหลัก
  6. ทำนัดหมายเข้าติดตามผล ตรวจการได้ยิน อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ เพื่อให้คุณทราบทันท่วงที หากว่าลูกน้อยมีการได้ยินที่ลดลง
  • สมัครเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการกับทีมงานที่มากประสบการณ์ด้านการสื่อสารที่คุณตั้งเป้าหมายให้กับลูก เช่น การสอนพูดผ่านทักษะการฟัง เขาจะสามารถมอบคำแนะนำ ช่วยให้คุณเดินทางไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ
  • หากลุ่มมอบการสนับสนุนจากครอบครัวอื่นที่ตกในที่นั่งเดียวกับคุณมาก่อน
การเข้ารับบริการด้านสุขภาพการได้ยินอย่างสม่ำเสมอ
     ภายหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัย และใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินแล้วนั้น คุณจะมีการกลับเข้าไปรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญด้านการด้ยินบ่อยครั้ง ในช่วงแรก การนัดหมายจะบ่อยครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยคุณได้ยินเสียงคำพูดทุกเสียงผ่านอุปกรณ์ที่ใส่อยู่ การนัดหมายบ่อยครั้งเช่นนี้จะช่วยให้คุณ และผู้เชี่ยวชาญประเมิน และทราบได้ทันที หากระดับการได้ยินของลูกคุณมีการเปลี่ยนแปลงลดลง
     การนัดหมายพบผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินอยู่เสมอ ๆ นั้น มีส่วนสำคัญต่อการสร้างผลลัพธ์ที่ดีด้านการฟัง และ การพูดของลูกน้อย เมื่อลูกโตขึ้น การนัดหมายนั้นย่อมจะลดลง และผู้เชี่ยวชาญจะมอบคำแนะนำว่าคุณควรนัดหมายบ่อยเพียงใด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน และสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย
     คุณจะต้องกลับไปพบผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย ปีละครั้ง เพื่อทำพิมพ์หูใหม่ พิมพ์หูนั้นสำคัญต่อผลสำเร็จของการใช้ร่วมกับเครื่องช่วยฟัง
     หากคุณเริ่มสงสัยถึงปัญหาของอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน หรือ การเปลี่ยนแปลงของการได้ยินลูก คุณควรติดต่อนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจการได้ยินโดยทันที เป็นเรื่องไม่แปลก หากระดับการได้ยินของลูกคุณนั้นมีการเปลี่ยนแปลง คุณยังมีทางเลือกเทคโนโลยีคุณภาพเพื่อให้ลูกได้ยินต่อไป