การฟังและการพัฒนาภาษาพูด
1.3.1 การฝึกพูดผ่านทักษะการฟังต้องใช้อะไรบ้าง?

เรามีแนวทางที่พิสูจน์ได้ว่าคุณสามารถนำลูกน้อยให้เรียนรู้ที่จะฟังเพื่อพัฒนาภาษาพูด
เราสามารถมอบการช่วยเหลือเพื่อให้คุณประสบผลสำเร็จ

สิ่งที่คุณทำในวันนี้
คือสิ่งที่จะส่งผลต่อลูกน้อยในวันหน้า
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนใหญ่ แม้แต่เด็กที่มีระดับการได้ยินในระดับรุนแรงมาก ยังสามารถที่จะเรียนรู้ที่จะฟัง เพื่อพัฒนาภาษาพูดได้ ในฐานะผู้ปกครอง คุณคือผู้ที่กำหนดให้ลูกน้อยเข้าถึงการได้ยินเสียงอย่างรวดเร็วที่สุด คุณคือผู้ที่จะกำหนดแผนในการเดินทาง รวมถึงการมอบการช่วยเหลือให้ลูกน้อยเกิดผลลัพธ์อย่างดีที่สุด สิ่งนี้ อาจจดูเหมือนเป็นงานใหญ่ที่จะนำมาปฏิบัติ ข่าวดีก็คือ คุณอาจจะเป็นผู้ที่มีทักษะหลายอย่างที่จำเป็นต่อการเดินทางในเส้นทางนี้อยู่แล้ว
ค้นหาแนวทาง

ขั้นต่อไปสำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ก้าวเล็ก ๆ สู่ การพัฒนาใหญ่ ๆ
ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทุกครั้ง ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ขอให้คุณทราบไว้ว่า ทุกสิ่งที่คุณทำเพื่อช่วยลูกน้อย จะสร้างให้เกิดความแตกต่างในการเดินทางสู่เส้นทางการฟังและการพูดของเขา ทุก ๆ ก้าวเล็ก ๆ จะนำไปสู่การพัฒนาการ
การมีชีวิตอยู่ด้วยการพูดผ่านการฟัง
เมื่อคุณทำสิ่งเหล่านี้ การพูดผ่านการฟังจะกลายเป็นวิถีชีวิตของคุณไม่ใช่เพียงเพื่อลูกน้อยของคุณ แต่สำหรับทุกคนในครอบครัว ทักษะของลูกน้อยจะเติบโตขึ้นในทุกวันเมื่อเขาได้เล่น ได้เรียนรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคุณ ครอบครัว และเพื่อน ๆ
ฝึกพูดผ่านทักษะการฟังทุกวัน :ตรวจเช็ค ในแต่ละวัน
ตาลืมขึ้น หูได้ยิน
ลูกน้อยใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินตลอดเลาลาตื่นหรือไม่?
ได้ยินแม่หรือเปล่า
ฉันมั่นใจเพียงใดว่าลูกน้อยได้ยินเสียงคำพูดของฉนและเสียงรอบๆ ตัวเขา
สร้างช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้
ฉันสร้างเวลาที่จะพูดคุยกับลูกหรือเปล่า อ่านนิทานให้ฟังหรือยัง ร้องเพลงหรือยัง เล่นด้วยกันหรือยัง
ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้ความฝันเป็นความจริง
ฉันนำเป้าหมายของการสอนมาใช้ที่บ้านหรือเปล่า?
ตรงเวลา ทุก ๆ ครั้ง
ว่าผลตรวจการได้ยินของลูกน้อยนั้นอายุไม่เกิน 1 ปี
ช่วยเขา ให้ช่วยคุณ
ฉันต้องการความช่วยเหลือ เพิ่มเติมอื่นๆ หรือไม่?
2.2 ศาสตร์ของการพูดผ่านการฟัง
สู่ยุคสมัยใหม่
ผลของงานวิจัยแสดงว่าเด็กที่เกิดมาหูหนวก สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารเช่นเดียวกับเด็กในวัยเดียวกันที่มีการได้ยินปกติ เมื่อเขาได้รับ:
คุณคือผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการตัดสินใจให้กับลูกน้อยของคุณ ว่าคุณต้องการให้ลูกน้อยของคุณใช้การฟังเพื่อการพัฒนาภาษาพูด การฝึกพูดผ่านการฟังนั้นมอบกลยุทธ์ และเทคนิคในการเรียนรู้ภาษาพูดผ่านการฟัง ด้วยการฝึกพูดผ่านการฟังนี้ เด็กที่หูหนวก หรือเด็กที่มีสูญเสียการได้ยินระดับน้อยไปถึงมากต่างก็สามารถพัฒนาได้ในระดับเดียวกับเด็กในวัยเดียวกันที่มีการได้ยินปกติ สมัครเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการเพื่อให้ลูกน้อยสามารถได้โอกาสในการพัฒนาทักษะที่ถูกต้องในการที่จะเรียนรู้ที่จะฟัง เพื่อพัฒนาภาษาพูด
- การวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการได้ยินตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ
- ใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่เหมาะสมภายในระยะเวลาที่มีอายุเพียงไม่กี่เดือน – รวมถึงการใส่เครื่องช่วยฟังตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน และการได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมเมื่อมีอายุได้เพียง 6 ถึง 9 เดือน
- เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการ โดยผู้ปกครองได้รับการสอนให้นำเทคนิคด้านการฟัง เพื่อพัฒนาภาษาพูด หรือการฝึกพูดผ่านทักษะการฟังมาใช้
- การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่มีความหมายกับลูกโดยให้ลูกได้เข้าถึงการได้ฟัง การพูดคุย และภาษาที่ใช้พูดคุยกันภายในบ้าน
- การให้ความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัว
ในหลายปีที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกได้ทำการศึกษาเรื่องเด็กที่มีปัญหาการได้ยินและเด็กหูหนวก ข้อมูลการศึกษาได้แก่อายุเด็ก ณ เวลาที่ได้รับการวินิจฉัย อายุที่เด็กได้ใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน นักวิจัยได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับภาษาพูดที่เด็กได้เรียนรู้และพัฒนา ผลจากงานวิจัยทำให้ทราบว่า ผู้ปกครอง และนักวิชาชีพต่าง ๆ นั้นสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้เด็กไปถึงเป้าหมายของการพัฒนาภาษาพูดผ่านการฟัง
“งานวิจัยล่าสุดกล่าวว่า ผลลัพธ์ทางการพัฒนาภาษาพูดที่ดีในเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ไม่ใช่เป็นเพียงความเป็นไปได้ อย่างเดียว แต่เป็นเพราะมีงานวิจัยที่มีหลักฐานเป็นประจักษ์ว่าการใช้การฟังเป็นศูนย์กลาง ในการดูแลสุขภาพการได้ยินในเวลาที่เหมาะสมรวดเร็วนั้น มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน”
Dr. Jace Wolfe, AuD

เราทราบอะไรบ้างวันนี้

รีบจัดการก่อน
แนนอนว่ายิ่งเร็ว ยิ่งดี แต่เร็วเท่าใด? งานวิจัยแสดงว่าเด็กที่ได้รับ การฝึกพูดผ่านการฟัง มีผลลัพธ์ที่ดีกว่า หากได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึง 6 เดือน และได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมหากจำเป็นในอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 9 เดือน

ขอ 10 ชั่วโมง
เราแนะนำครอบครัวให้เด็กใส่เครื่องตลอดเวลาตื่น งานวิจัยในปัจจุบันระบุจำนวนชั่วโมงอย่างชัดเจน เด็ก ๆ ที่กำลังเรียนรู้การฟัง เพื่อพัฒนาภาษาพูดจะได้ผลสูงสุด เมื่อเปิดและใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ทำงานได้ปกติเป็นระยะเวลาวันละ 10 ชั่วโมง ทุกวัน

จัดการกับเสียงรบกวน
ลูกน้อยของคุณใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่ในที่ ๆ มีเสียงรบกวน เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก บุคคลต่าง ๆ ในบ้าน การรวมญาติ ห้องเรียนงานวิจัยแสดงถึงการใช้อุปกรณ์เสริมให้เกิดประโยชน์เมื่อลูกน้อยอยู๋ในที่ ๆ มีเสียงรบกวน เพื่อให้เขาเข้าถึงเสียงคำพูด โดยการลดเสียงรบกวนลง อุปรณ์เสริมนี้เรียกว่า รีโมท ไมโครโฟน เทคโนโลยี (รีโมท ไมโครโฟน เทคโนโลยีทำการส่งสัญญาณเสียงผ่านไมโครโฟนไร้สาย ส่งตรงเข้าไปถึงตัวรับเสียงที่อยู่ในอุปกรณ์ช่วยการได้ยินที่ลูกน้อยใช้อยู่) สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเด็กเกี่ยวกับอุปกรณ์นี้ตลอดจนวิธีการจัดการเมื่ออยู่ในที่ ๆ มีเสียงรบกวน

พูดให้มาก
จำนวนคำพูด และคำพูดที่ดีต่อใจที่คุณใช้คุยกับลูกน้อยสำคัญมากงานวิจัยแสดงว่าเด์กน้อยจำเป็นต้องได้ยินคำพูดมากถึง 40 ล้านคำภายในเวลา ที่มีอายุครอบ 4 ปี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ภาพษาพูที่ดีที่สุดสิ่งนี้ไม่ยากอย่างที่เห็น ผู้ปกครองควรใช้คำศัพท์หลายหลายในการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของบ้าน เกี่ยวกับกริยาต่างๆ ในการเล่น และเวลาอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง บรรยากาศเช่นนี้ เรียกว่า 'โมเดลการฟังที่เต็มไปด้วยภาษา" และสิ่งนี้คือสิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษา

โอกาสที่เท่าเทียม
เด็กน้อยบางรายที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความท้าทายในทักษะบางอย่าง บางรายอาจจะได้รับการวินิจฉัยด้านอื่นร่วมด้วยอีกงานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรทำให้เด็กน้อยขาดการได้รับอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน และเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังเพื่อพัฒนาภาษาพูดตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เครื่องช่วยฟัง และประสาทหูเทียมสามารถช่วยให้เด็กน้อยที่มีความท้าทายหลายหลาย ได้มีพัฒนาการไปได้เต็มศักยภาพของเขาจากการพูดผ่านการฟัง

การเข้าถึงสำหรับทุกคน
งานวิจัยล่าสุด แสดงว่าเด็กมีความจำเป็นที่จะได้รับโอกาสในการสร้างผลลัพธ์ใช้ภาษาพูดที่ดีกว่าเดิมด้วยการได้รับการฝึกพูดผ่านการฟังครอบครัวควรนำเด็กน้อยให้ได้รับการตรวจการได้ยินประจำปี เข้าถึงความรู้ งานวิจัยล่าสุด ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์การได้ยินสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในการเข้ารับการฝึกพูดผ่านการฟัง สอบถามข้อมูลที่ไม่เข้าใจกับผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง