การใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี

วิธีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีในการช่วยให้ลูกมุ่งสู่เป้าหมายของการฟัง และการพัฒนาภาษาพูด

     เทคโนโลยีการช่วยฟังของเด็กน้อยมีศักยภาพช่วยลูกที่มีการสูญเสียการได้ยินได้เป็นอย่างมาก เรียนรู้ว่าคุณจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้สมองของลูกน้อยได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างสูงสุด

ระยะเวลาในการใส่อุปกรณ์

 ผู้ปกครองถามเข้ามาบ่อย ๆ ว่า ลูกน้อยควรใส่อุปกรณ์นานเท่าใดในแต่ละวัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถใส่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ปกครองควรให้ลูกน้อยใส่อุปกรณ์ช่วยการได้ยินตลอดเวลาที่ลูกน้อยตื่น

 เพราะเหตุใด? เพราะว่าลูกน้อยไม่ควรพลาดวินาทีใดหนึ่งของการฟัง ในช่วงเวลาการพัฒนาของสมอง ในขวบแรก ลูกน้อยตื่นเฉลี่ยเป็นเวลา 7-10 ชั่วโมงต่อ 24 ชั่วโมงในการที่จะได้เรียนรู้ถึงเสียงและข้อมูลต่าง ๆ ที่คนรอบตัวพูด ทุกนาทีนั้นมีความหมายต่อการได้ยิน

จำไว้ว่า ตาเปิด หูได้ยิน!

ตาเปิด หูได้ยิน หมายถึงเมื่อลูกน้อยตื่น ลืมตาขึ้น อุปกรณ์ช่วยในการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟัง หรือ ประสาทหูเทียม ที่ทำงานเป็นปกติ ควรจะถูกหยิบมาใส่ให้ลูกน้อยทันที

นำเทคโนโลยีมาไว้ที่หูใบเล็ก ๆ นั้น

     เป็นเรื่องปกติที่เจ้าตัวน้อยพยายามปัดเครื่องช่วยฟัง หรือ ประสาทหูเทียมออก – เช่นเดียวกับการปัดหมวก หรือ ถุงเท้า หรือ รองเท้า – โดยเฉพาะในวัยที่กล้ามเนื้อต่างๆ กำลังพัฒนาการเคลื่อนไหว รวมถึงช่วงที่กำลังเข้าใจอวัยวะของตนไม่ว่าจะหู หรือร่างกาย คุณจำเป็นต้องมุ่งมั่นในการให้ลูกใส่อุปกรณ์ตลอดเวลาตื่น คุณต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้อง ผู้ดูแลลูกน้อยทุกคนในส่วนนี้ แล้วคุณจะพบว่า ในที่สุดลูกจะไม่รู้สึกว่ากำลังใส่อุปกรณ์นี้อยู่เลย บางทีคุณจะพบว่าลูกถามหาอุปกรณืเมื่อตื่นขึ้นมา

  • ดึงความสนใจ : ดึงความสนใจออกจากอุปกรณ์ไปที่อื่น เช่นกิจกรรมต่าง ๆ
  • ติดแปะ : การใช้เทปที่ติดผม หรือเทปทางการแพทย์จะช่วยให้อุปกรณ์อยู่กับที่ ๆ พึงอยู่ได้เป็นอย่างดี
  • หมวก : ใส่หมวก เพื่อไม่ให้ไปสัมผัสกับอุปกรณ์

เด็กน้อยส่วนใหญ่ผ่านขั้นตอนการดึงเครื่องช่วยฟังออก หากลูกน้อยคุณทำเช่นนั้นบ่อย ๆ มันอาจจะเป็นการบ่งชี้ถึงปัญหาของอุปกรณ์ อย่ารอ! คุณควรปรึกษาครูผู้ฝึกพูดผ่านทักษะการฟัง หรือผู้เชี่ยวชาญก้านการได้ยินเด็กทันที

      คุณจำเป็นต้องตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยการได้ยินของลูกให้ทำงานเป็นปกติในทุก ๆ วัน ส่วนนี้มีความสำคัญไม่แพ้การที่คุณต้องมั่นใจว่าลูกใส่อุปกรณ์ตลอดเวลาตื่น เนื่องจากลูกน้อยของคุณ ยังไม่สามารถบอกคุณได้ว่าอุปกรณ์ทำงานหรือไม่ คุณจึงควรตรวจสอบเทคโนโลยีในทุกวัน พร้อมกับตรวจสอบการได้ยินผ่านอุปกรณ์ร่มด้วย

     อย่าลืมที่จะใช้เวลา 5 นาทีในทุก ๆ เช้า ห้านาทีนี้ บอกถึงความแตกต่างในผลลัพธ์ในความก้าวหน้าของลูกน้อย เพื่อให้ลูกน้อยมีความพร้อมที่จะฟัง และเรียนรู้ คุณทำได้เมื่อตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ช่วยการได้ยินนั้น ได้ยินปกติ แบตเตอรี่มีสำรองมีครบ ให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่นี้จะอยู่กับลูกจนถึงเวลาลูกตื่นมาในตอนเช้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน หรือ บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยฟังสามารถให้คู่มือการดูแลอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้คุณดูแลอุปกรณ์ด้วยตนเอง ขั้นตอนต่อไปนี้คือขั้นตอนการตรววจสอบการทำงานของอุปกรณ์ปะจำวัน

  • การตรวจสอบจากการมอง
    มองตรวจสอบให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ครบกับตัวเครื่อง และได้รับการใส่อย่างถูกต้อง คอยสังเกตรอยแตกร้าว
  • ทดสอบแบตเตอรี่
    ตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ได้รับการชาร์จ ไม่ว่าคุณจะใช้แบตเตอรี่ชนิดใด คุณควรตรวจสอบในทุกวัน
  • ตรวจสอบการฟังเสียงผ่านอุปกรณ์
    ฟังเสียงจากอุปกรณ์ของลูกน้อยด้วยตนเองว่าอุปกรณ์ทำงานปกติ คุณจะต้องมีอุปกรณ์เสริมในการฟัง สำหรับเครื่องช่วยฟัง คุณฟังได้จากเสียงที่หวีดออกมา สำหรับประสาทหูเทียม คุณฟังได้ที่ไมโครโฟน จากเสียงต่างๆ ที่เข้ามายังไม่โครโฟน ในขณะที่ทดสอบ คุณจะ :
    • ทำเสียง (ชช หรือ อา) พูดเสียงปกติไปยังไม่โครโฟน ที่ห่างจากปากประมาณ 6 นิ้ว ฟังเสียงที่ชัดเจน สม่ำเสมอ ไม่มีเสียงสะดุด (ไม่มีเสียงติด ๆ ดับ ๆ หรือเสียงซ่า รบกวน)
    • กดปุ่มต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกปุ่มทำงานปกติ
    • เปิด ปิดรังถ่าน หรือนำแบตเตอรี่เข้า ออก เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่อง เปิด และ ปิด เป็นปกติ

ทำความสะอาดเครื่อง ประสาทหูเทียม

การตรวจสอบอุปกรณ์ประจำวัน

เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจำเป็นต้องตรวจสอบอุปกรณ์ของลูกน้อยในทุก ๆ วัน เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์นั้นทำงานเป็นปกติ ลูกน้อยนั้นได้ยินเสียงทุกเสียง รวมถึงเสียงคำพูดที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเขา เอกสารนี้ให้รายละเอียดในการช่วยคุณทราบถึงวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ในทุก ๆ วัน

กดที่นี่ 

การตรวจสอบการฟังคือการตรวจสอบเพื่อให้คุณมั่นใจว่า ลูกน้อยของคุณได้ยิน และสังเกตเสียงคำพูดที่คุณพูดกับเขา เมื่อเขาใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว  คุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทราบได้ว่าลูกน้อยตอบสนองอย่างไร ในขณะที่ตรวจสอบการฟังนี้ หากพบว่ามีเสียงใดที่ลูกน้อยไม่ตอบสนอง ให้บันทึกเพื่อนำไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินทันที

  • การทดสอบเสียงลิงค์ 6 เสียง
    เรียนรู้ที่จะทดสอบเสียงลิงค์ 6 เสียง ในการทดสอบ คุณจะเปล่งเสียงเฉพาะแต่ละเสียง แล้วให้ลูกน้อยตอบสนองโดยไม่มองปากคุณ การทดสอบนี้จะทำให้คุณสามารถทราบได้ว่าลูกได้ยิน ตอบสนอง และระบุเสียงทั้งหกเสียงที่ครอบคลุมเสียงคำพูดในทุกความถี่ หากลูกน้อยตอบสนองครบทั้งหกเสียง เขาพร้อมสำหรับวันนั้นแล้ว ทำเสียงในระดับปกติ เมื่อทำเสียงเหล่านี้ :
    • /m/ เหมือน อืม
    • /ah/ เหมือน อา
    • /oo/ เหมือน อู
    • /ee/ เหมือน อี
    • /sh/ เหมือน ช
    • /s/ เหมือน ส

หากลูกน้อยยังเล็กมาก คุณจะมองการตอบสนองจากเสียงที่คุณเปล่ง เมื่อลูกน้อยโตขึ้น เขาจะตอบสนองการได้ยินเสียงกลับด้วยการกระทำอะไรบางอย่าง เช่นการนำลูกบอลในโหล ตบมือ หรือหยอดเหรียญในช่อง เป็นต้น เมื่อเขาโตขึ้นมาจนเริ่มพูดได้ คุณจะสามารถบอกให้เขาตอบกลับด้วยเสียงเดียวกับที่เขาได้ยิน

ใช้การตรวจสอบนี้ในการวัดระยะห่างของการฟังด้วย การใช้เสียงลิงค์ 6 เสียงในระยะที่แตกต่างกันระหว่างคุณ และลูกน้อย ให้สังเกตว่า ระยะห่างของคุณนั้นเท่าใด ที่ลูกน้อยจะสามารถตอบสนอง และระบุเสียงแต่ละเสียงได้ แล้วคุณนำข้อมูลนี้แบ่งปันให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนพูดผ่านการฟัง

  • การทดสอบการฟังโดยระดับอายุ
    การทดสอบการฟังประจำวันนั้นอาจแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุของลูกน้อยเรามีเอกสารแนะนำที่อธิบายการตรวจสอบเด็กน้อยในแต่ละวัย
    • วัยแรกเกิด ไปที่ แบบฟอร์มตรวจสอบการฟังประจำวันสำหรับเด็กวัยแรกเกิด
    • วัยเตาะแตะ ไปที่ แบบฟอร์มตรวจสอบการฟังประจำวันสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
    • วัยเด็ก ไปที่ แบบฟอร์มตรวจสอบการฟังประจำวันสำหรับเด็ก

มาเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการช่วยเหลือการได้ยินของลูก